Week7

Week7 7-11 ธันวาคม 58
วัน
รูปแบบกิจกรรม
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
จันทร์
มุมมองการคิด /ใคร่ครวญ
- ใคร่ครวญและวางแผนเป้าหมายอนาคตของตนเอง
- มีสติรู้ตัวในการทำกิจกรรม

ฉันจะเป็น
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง กำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเองประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูแจกกระดาษ A4 ให้นักเรียนคนละหนึ่งแผ่น ขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากจะเป็นอะไรในอนาคต?
- ครูให้นักเรียนใคร่ครวญและเขียนสิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็นไว้ตรงหัวกระดาษ
- ครูให้นักเรียนแบ่งกระดาษเป็นสองด้าน ด้านซ้ายเขียนปัญหาและอุปสรรค์ขัดขวางที่จะไปไม่ถึงเป้าหมาย ด้านขวาเขียนวิทีการที่จะพาไปถึงเป้าหมาย
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่จะเป็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง
 - เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา
อังคาร
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ (รำกระบอง)
- มีสติจดจ่อกับฝึกการควบคุมร่างกายและจิตใจ
- เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
โยคะ
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนยืนล้อมวงกลมในตำแหน่งและระยะห่างที่เหมาะสมกำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง ประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเตรียมนักเรียนด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย
 หลังจากนั้นให้นักเรียนกลับมายืนในท่าที่มั่นคงร่างกายอย่างมีสติ


- ครูเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ(ท่ายืน,ท่านั่ง,ท่านอน)
- นักเรียนทำโยคะท่าต่างๆ(ท่ายืน,ท่านั่ง,ท่านอน)
- นักเรียนนอนพักผ่อนร่างกายท่าศพอาสนะประมาน 3 นาที
ขั้นจบ: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง
- เพลงสปา
พุธ
ศิลปะ ดนตรี
- มีสติรู้ตัวในงานที่ทำ
- มีสมาธิจดจ่อต่อเนื่อง
- เกิดทักษะการสังเกต
- เรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมไทย
ลอกลายไทย
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง กำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเองประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าเรื่องราวของลายไทยในงานศิลปะต่างๆ ของไทย เชื่อมโยงถึงลวดลายไทยที่ปรากฏ
- ครูแจกกระดาษ A4 ที่มีลายไทยให้นักเรียนคนละหนึ่งแผ่น ขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- ครูให้นักเรียนลอกลายไทย และตกแต่งตามความสวยงาม
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนชิ้นงานที่ทำ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง
- กระดาษไข
- กระดาษลาย
- ปากกา/สีไม้
- เพลงสปา
พฤหัสบดี
วรรณกรรม นิทาน เรื่องเล่า ประสบการณ์

- มีสมาธิจดจ่อต่อเนื่องระหว่างทำกิจกรรม
- ใคร่ครวญกับตัวเองเกี่ยวกับภาพและเรื่องราว
- เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ข้างหลังภาพ
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง กำกับสติด้วยการฟังจังหวะการเต้นของหัวใจตนเองประมาณ  2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าเรื่องภาพถ่ายต่างๆ ทั่วโลก
- ครูแจกกระดาษขนาดครึ่งA4 ขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- ครูให้นักเรียนดูภาพต่างๆ ประมาณ 10 รูป เมื่อดูเสร็จแต่ละภาพ ให้นักเรียนตั้งชื่อภาพแต่ละภาพ เขียนลงบนกระดาษ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพ
- ครูอ่านบทความความสำคัญของจินตนาการของ J.K. Rowling ให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากบทความนี้?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนถึงบทความที่ได้ฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณสิ่งที่ได้เรียนรู้ขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆที่ส่งมอบให้กัน
- ภาพบอกความรู้สึก
- เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา
- บทความ
ศุกร์
วัสดุธรรมชาติ สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ
- มีสติรู้ตัวในการทำกิจกรรม
- มีจิตใหญ่ เข้าใจและเคารพความแตกต่างของผู้อื่น

พิการกาย ไม่พิการใจ
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง กำกับสติด้วยการฟังจังหวะการเต้นของหัวใจตนเองประมาณ  2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูบอกนักเรียนว่าจะให้เล่นละคร สมมติตัวเองเป็นคนอื่นที่ไม่เหมือนเรา ตามใบคำสั่งที่ครูกำหนด
- ครูส่งกระดาษขนาดครึ่งA4 และใบคำสั่งคนละ 1 ใบให้นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อม
- ครูให้นักเรียนดูรูปต้นแบบที่จะให้นักเรียนวาดตาม
- เมื่อนักเรียนได้กระดาษใบคำสั่งให้นักเรียนปฏิบัติตาม ให้เวลานักเรียนวาดรูปประมาณ 5 นาที กระดาษใบคำสั่งแบ่งเป็น 4 ข้อ
o   ให้วาดรูปด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด แทน เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Cerebral Palsy
o   รูป ให้ สิ่ง เห็น ครู ที่ ถือ วาด แทน เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Autism
o   วาดให้ช้าที่สุดเท่าที่จะวาดได้ แทน เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Learning Disabilities
o   ให้หลับตา วาดรูป (มีครูพี่เลี้ยงคอยบอก) แทน เด็กผู้มีปัญหาทางสายตา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรขณะวาด?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึกร่วมกัน
- ครูอธิบายกลุ่มอาการให้นักเรียนทราบ พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
- ครูให้นักเรียนเขียนความรู้สึก ณ ตอนทำ และเขียนสิ่งที่อยากจะบอกถึงเด็กที่กลุ่มอาการที่นักเรียนได้รับบทบาท และร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลมหลับตา ใคร่ครวญกับบทเพลง ครูเปิดเพลง “สุดสายตา”
- ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณสิ่งที่ได้เรียนรู้ ส่งกำลังใจให้เด็กพิเศษทุกๆ คน
- เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา
- ภาพวาด
- ฉลากแบ่งกลุ่ม
ชื่อกิจกรรมพิการกาย ไม่พิการใจ
เป้าหมายนักเรียนมีจิตใหญ่ เข้าใจและเคารพความแตกต่างของผู้อื่น
-          กิจกรรมนี้ ครูได้แรงบันดาลใจจากที่เห็นพี่ๆ ม.ปฏิบัติต่อน้อง ซึ่งมีความพิเศษในโรงเรียน คิดว่าถ้าพี่ๆ เข้าใจสิ่งที่น้องเป็นอยู่ จะเลือกปฏิบัติต่อน้องในมุมมองที่เปลี่ยนไป
-          ครูให้พี่ๆ ม.กลับมาอยู่กับตัวเอง บอกกับพี่ๆว่า วันนี้จะให้เล่นละคร สมมติตัวเองเป็นคนอื่นที่ไม่เหมือนตัวเรา ตามใบคำสั่งที่ครูกำหนด
-          ครูส่งกระดาษและใบคำสั่งให้นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อม
-          เมื่อนักเรียนได้กระดาษใบคำสั่งให้นักเรียนปฏิบัติตาม วาดรูปที่ครูถือให้ดู
o   รูป ให้ สิ่ง เห็น ครู ที่ ถือ วาด สื่อถึง เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Cerebral Palsy
o   ให้วาดรูปด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด สื่อถึง เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Autism
o   วาดให้ช้าที่สุดเท่าที่จะวาดได้ สื่อถึง เด็กผู้อยู่ในกลุ่มอาการ Learning Disabilities
o   ให้หลับตา วาดรูป สื่อถึง เด็กผู้มีปัญหาทางสายตา
-          ครูให้เวลานักเรียนวาดรูป 5 นาที เมื่อวาดเสร็จ ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยน และสะท้อนความรู้สึกทั้งเมื่อได้ใบคำสั่ง และขณะวาด เมื่อถามความรู้สึก บางคนรู้สึกหงุดหงิด อึดอัด ไม่ทันใจ บางส่วนรู้สึกสนุก ท้าทาย แต่เมื่อตั้งคำถามว่า “แล้วถ้าพี่ๆ ต้องเป็นแบบนี้ทุกๆ วัน?” ทุกคนมีสีหน้าและความรู้สึกเปลี่ยนไป
-          ครูเชื่อมโยงสู่กลุ่มอาการและอธิบายลักษณะที่เด็กพิเศษให้นักเรียนทราบ
-          ครูให้นักเรียนเขียนความรู้สึก ณ ตอนทำ และเขียนสิ่งที่อยากจะบอกถึงเด็กที่กลุ่มอาการที่นักเรียนได้รับบทบาท
-          ก่อนจบกิจกรรม ครูให้นักเรียนหลับตา และส่งกำลังใจเพื่อนคนที่มีกลุ่มอาการเหล่านี้ และเปิดเพลง “สุดสายตา”
ส่วนหนึ่งของสิ่งที่พี่ๆ สะท้อนถึงรู้สึกระหว่างทำกิจกรรม และสิ่งที่อยากจะบอกต่อผู้มีความพิเศษ
-          อาจไม่เข้าใจการใช้ชีวิตเธอมากเท่าไร แต่อย่างน้อย เราก็ได้รู้จักการใช้ชีวิตของเธอ เรารู้สึกต้องใช้ความพยายามมากเลยถ้าเป็นเธอ เธอเก่งกว่าเราจริงๆ นะ สู้ๆ นะ
-          รู้สึกว่าแค่เราลองหลับตาก็รู้สึกลำบากแล้ว ถ้าเป็นจริงๆ คงลำบาก อยากบอกว่า ไม่ว่าเราจะเป็นยังไงแค่มีความมั่นใจกับความหวัง ก็จะมีความสุข
-          อยากให้เขามีความสุขกับสิ่งที่เขาเป็นอยู่ และไม่อยากให้เขาเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
-          รู้สึกว่าอึดอัดไม่รู้จะทำยังไง เหมือนมีคนเอาอะไรมาปิดปาก ความรู้สึกประมาณว่า จมน้ำแต่ไม่ตาย อยากบอกว่า สู้ๆ ไม่มีอะไรที่จะแย่ลงหรอก
-          รู้สึกลำบาก ทรมาน อยากมองอะไรให้เห็น อยากบอกว่า คุณมีความอดทนสูงมาก และก็เก่งมากที่อยู่ได้
-          อยากจะให้สู้ๆ ถึงแม้ว่าใช้ชีวิตลำบากแต่ก็ยังมีคนรอบข้าง ถ้าไม่สบายใจ ทุกข์ ลองหันไปหาคนข้างๆ
-          ความไม่ได้ดั่งใจ อาจเป็นอุปสรรคกับเราอยู่ อยากจะทำก็ลองลงมือทำดู ทำไม่ได้ก็ไม่ใช่ปัญหา ไม่มีอะไรที่เป็นปัญหา



ชื่อกิจกรรมลอกลายไทย
เป้าหมายนักเรียนมีสติรู้ตัว มีสมาธิจดจ่อต่อเนื่อง และเรียนรู้ ซึมซับวัฒนธรรมไทย
ครูเล่าเรื่องราวของลายไทยในงานศิลปะต่างๆ ของไทย เชื่อมโยงถึงลวดลายไทย ตั้งคำถามกับนักเรียนว่า “พี่ๆ ม.เคยเห็นลายไทยไปปรากฏที่ไหนบ้าง และเราสามารถนำลายไทยไปสร้างมูลค่าได้อย่างไร?
ครูแจกกระดาษ A4 ที่มีลายไทยให้นักเรียนคนละหนึ่งแผ่น ให้นักเรียนลอกลายไทย และตกแต่งตามความสวยงาม เมื่อพี่ๆ ม.3 แต่ละคนได้กระดาษก็หามุมของตัวลอง ลอกกลายอย่างตั้งใจตามเทคนิคของตัวเอง ทุกคนมีสมาธิจดจ่ออยู่กับชิ้นงานของตัวเอง
เมื่อเสร็จ นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนชิ้นงานที่ทำ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น